มาตรการรับมือ ของ การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย

มาตรการต่อผู้เดินทางเข้าประเทศ

พระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานคร สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ (มิถุนายน 2563)
เช่นเดียวกันกับเยาวราช ถนนคนเดินที่มักพลุกพล่านด้วยผู้คนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ (พฤษภาคม 2563)

เริ่มมีการคัดกรองผู้โดยสารขาเข้าจากประเทศจีนในท่าอากาศยาน 6 แห่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ท่าอากาศยานดอนเมือง, ท่าอากาศยานภูเก็ต, ท่าอากาศยานเชียงใหม่, ท่าอากาศยานกระบี่ และท่าอากาศยานเชียงราย (เริ่ม 24 มกราคม) พบผู้ป่วยต้องสงสัยจำนวนหนึ่งที่มีภาวะทางเดินหายใจที่พบทั่วไปโรคอื่น[99][100][5]

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ เอ็มเอส เวสเตอร์ดัม ถูกปฏิเสธเข้าเทียบท่า ณ ท่าเรือแหลมฉบัง[101] หลังถูกปฏิเสธจากฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และกวม มาแล้วก่อนหน้านี้[102] วันที่ 13 กุมภาพันธ์ เรือ เอ็มวี ซีบอร์นโอเวชัน และเรือ ควอนตัมออฟเดอะซีส์ ได้รับอนุญาตให้เทียบท่า ทั้งนี้ เพราะเรือทั้งสองมีกำหนดขึ้นฝั่งที่ประเทศไทยอยู่แล้ว ผู้โดยสารบนเรือได้รับการตรวจคัดกรองก่อนได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่ง[103][104]

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ การคัดกรองโควิด-19 ขยายรวมไปถึงผู้เดินทางเข้าประเทศจากประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ กระทรวงสาธารณสุขยังเพิ่มมาตรการต่อโควิด-19 เป็นระดับ 3 เพื่อเตรียมรับการแพร่เชื้อที่เพิ่มขึ้น ทุกจังหวัดต้องมีโรงพยาบาลที่มีศักยภาพทดสอบโควิด-19 ได้อย่างน้อย 1 แห่ง[105] วันที่ 21 กุมภาพันธ์ กระทรวงสาธารณสุขประกาศเกณฑ์คัดรองใหม่ โดยเพิ่มการตรวจเพิ่มเติมสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศจากฮ่องกง มาเก๊า เกาหลีใต้ และไต้หวัน ผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมไม่ทราบสาเหตุ และอาศัยอยู่ในพื้นที่ 8 จังหวัดที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมเดินทางมา ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เชียงราย ชลบุรี กระบี่ ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ และสมุทรปราการ จะถือว่าเป็นผู้ป่วยต้องสงสัยโควิด-19 อัตโนมัติ[106]

วันที่ 6 เมษายน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยออกประกาศขยายเวลาห้ามเที่ยวบินขาเข้าประเทศ จนถึงวันที่ 18 เมษายน[107]

หน่วยงานที่กำกับดูแล

หน่วยงานที่กำกับดูแลการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย คือศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โดยเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ เป็นกรรมการ[58] นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน เป็นโฆษก[108] และแพทย์หญิง พรรณประภา ยงค์ตระกูล เป็นผู้ช่วยโฆษกตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม[109] สำหรับการแถลงข่าวจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และสื่อสารต่อประชาชนเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในทุก ๆ วัน

มาตรการจำกัดการระบาดในประเทศ

วันที่ 25 มีนาคม 2563 รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศเพื่อสกัดการแพร่ของโควิด-19 โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ วันที่ 26 มีนาคม – 30 เมษายน มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ห้ามบุคคลเข้าไปในเขตที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งห้าม รวมทั้งห้ามชุมนุมและเผยแพร่ข่าวปลอม[110] วันที่ 3 เมษายน รัฐบาลประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหะสถาน ตั้งแต่เวลา 22.00 น. – 4.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ยกเว้นบางอาชีพ เป็นมาตรการรับมือโควิด-19 วันที่ 17 เมษายน ตำรวจรายงานว่าจับกุมผู้ฝ่าฝืนคำสั่งได้ 7,000 คน[111]

วันที่ 7 เมษายน คณะรัฐมนตรีสั่งเลื่อนวันเปิดภาคเรียนภาคเรียนที่ 1/2563 เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม วันที่ 8 เมษายน กระทรวงวัฒนธรรมสั่งห้ามจัดงานสงกรานต์ทุกระดับ[54]

จนวันที่ 9 เมษายน 14 จังหวัดและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศห้ามเข้าออก ได้แก่ เชียงราย ตาก น่าน แพร่ ตราด บึงกาฬ ภูเก็ต สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เมืองพัทยา และระนอง[112] วันที่ 11 เมษายน 47 จังหวัดมีคำสั่งงดจำหน่ายสุราชั่วคราว[113] หลังราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งอนุญาตให้จำหน่ายสุราได้แต่ห้ามนั่งดื่มที่ร้าน ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีและพิษณุโลกสั่งห้ามจำหน่ายสุราต่อไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม และสั่งปิดท่าอากาศยานพิษณุโลกสำหรับให้อากาศยานใช้ขึ้นลงด้วย[114]

วันที่ 1 พฤษภาคม พรก. ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ โดยยังคงเคอร์ฟิวและให้งดเว้นการเดินทางข้ามจังหวัดยกเว้นมีเหตุจำเป็น และให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่กำหนด[115]

จากเหตุการณ์พบทหารอียิปต์ติดโตวิด-19 จำนวน 1 นายในวันที่ 8 กรกฎาคม มีคำสั่งปิดโรงเรียนในจังหวัดระยอง 274 แห่ง[116] และมีการปิดห้างจำนวน 2 แห่ง ผู้ที่อยู่ในห้างในช่วงดังกล่าวจำนวนเกือบ 800 คนได้รับคำแนะนำให้ตรวจหาเชื้อไวรัส[117]

วันที่ 2 มกราคม 2564 หลังมีการระบาดรอบใหม่ในเดือนธันวาคม 2563 ศบค. ได้แบ่งพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศตามความเสี่ยง แต่รอบนี้ไม่สั่งล็อกดาวน์ทั่วประเทศ โดยโฆษก ศบค. ชี้แจงว่าที่ไม่สั่งล็อกดาวน์เพราะจะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบสัมมาชีพ แต่สาเหตุส่วนใหญ่มาจากผู้ที่ฝ่าฝืน เช่น ผู้ลักลอบเล่นการพนัน ฝ่าฝืนเคอร์ฟิว เป็นต้น[118]

มาตรการทางเศรษฐกิจ

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

วันที่ 17 เมษายน ประยุทธ์แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ ว่าจะส่งจดหมายเปิดผนึกถึงมหาเศรษฐีไทย 20 อันดับแรก เพื่อขอให้ร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาโควิด-19[119] วันที่ 19 เมษายน ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกำหนดกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวม 3 ฉบับ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท[120]

วันที่ 21 เมษายน สำนักงานประกันสังคมเปิดเผยว่ามีผู้ประกันตนยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนแล้วกว่า 1.2 ล้านราย พร้อมยืนยันว่าสำนักงานฯ มีเงินลงทุนกรณีว่างงานกว่า 160,000 ล้านบาท ไม่กระทบต่อเสถียรภาพของสำนักงานฯ[121]

วันที่ 24 เมษายน ศบค. ออกมาเปิดเผยว่าค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 คิดเป็นประมาณ 1 ล้านบาทต่อคน[122]

กระทรวงการคลังแถลงว่าจะมีผู้ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาททางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ครบ 11 ล้านคนจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563[123]

ระหว่างเดือนมิถุนายนถึง 13 กรกฎาคม ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานว่าได้อนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแล้ว 63,342 ราย คิดเป็นมูลค่า 103,750 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของวงเงิน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอีกกว่า 2.4 ล้านราย (ร้อยละ 83 ของผู้ประกอบการทั้งหมด) ไม่มีสิทธิในเงินกู้ดังกล่าว[124]

ในเดือนสิงหาคม มีการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของ "Phuket Bubble Model" หรือการรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าจังหวัดภูเก็ต[125]

ข้อจำกัดสำหรับผู้เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงติดโรค

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดพื้นที่เสี่ยงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เขตติดโรคติดต่ออันตราย[126] และพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง[127]

เขตติดโรคติดต่ออันตราย

ผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศ จีน (รวมฮ่องกง และ มาเก๊า), เกาหลีใต้, อิตาลี และ อิหร่าน จะได้รับการกักตัวในพื้นที่ที่รัฐกำหนดเป็นเวลา 14 วัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 เมษายน ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดเขตติดโรคติดต่ออันตราย เพิ่มเติมจากประกาศฉบับแรกอีก 5 ประเทศ[128] รวมเป็นทั้งหมด 9 ประเทศ

ในวันที่ 15 พฤษภาคม มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขยกเลิกท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดต่อโรคอันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยยกเลิกประเทศ จีน (รวมฮ่องกง และ มาเก๊า) และ เกาหลีใต้ ออกจากเขตติดต่อโรคอันตราย[129]

พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง

ผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศดังกล่าว ต้องแยกตัวจากผู้อื่นและไม่ควรออกจากบ้านเป็นเวลา 14 วัน และจะมีเจ้าหน้าที่ติดตามใกล้ชิด

วัคซีน

ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ทางการสั่งซื้อวัคซีนจากบริษัทแอสตราเซเนกา จำนวน 26 ล้านโดส ซึ่งจากข้อมูลการทดลองพบมีประสิทธิผลโดยรวมร้อยละ 70[130] เนื่องจากวัคซีนดังกล่าวต้องใช้ฉีดคนละ 2 โดส ทำให้เพียงพอต่อประชากรเพียง 13 ล้านคน[131] ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติงบสั่งซื้อเพิ่ม 35 ล้านโดสในเดือนมกราคม 2564[132] ทั้งนี้ บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ซึ่งเป็นบริษัทในพระปรมาภิไธยได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า "เมื่อรับวัคซีนมาแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งอันนี้ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้บริษัทสยามไบโอไซเอนส์"[133] นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าวัคซีนจากบริษัทซีโนแว็ก สัญชาติจีน จำนวน 2 ล้านโดส ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2564[134] ซึ่งบริษัทซีโนแว็กเป็นบริษัทที่เครือเจริญโภคภัณฑ์เข้าร่วมทุนด้วยจำนวน 1.5 หมื่นล้านบาท[135]

ใกล้เคียง

การระบาดทั่วของโควิด-19 การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19 เรียงตามประเทศและดินแดน การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศทาจิกิสถาน การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศซาอุดีอาระเบีย การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศแทนซาเนีย การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศบังกลาเทศ การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเกาหลีเหนือ การระบาดทั่วของโควิด-19 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การระบาดทั่วของโควิด-19 ในทวีปยุโรป

แหล่งที่มา

WikiPedia: การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย http://Coronamapper.com http://www.moicovid.com/09/01/2021/uncategorized/2... http://www.cidrap.umn.edu/news-perspective/2020/01... http://www.who.int/csr/don/14-january-2020-novel-c... //www.worldcat.org/issn/0362-4331 http://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/... https://www.health.qld.gov.au/news-events/health-a...